top of page
MEE00634_edited.jpg

 


คู่มือออกแบบกิจกรรม

เชื่อมคนต่างวัย

 

คู่มือนี้พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ใหญ่

ที่ทำงานกับเด็กและเยาวชน

​​โดยมีเป้าหมายในการแบ่งปันเคล็ดลับและเครื่องมือฝึกอบรม เพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่สามารถนำพฤติกรรมสำคัญทั้งสี่ประการ ได้แก่ ชื่นชม (Appreciate) ฟัง (Listen) เรียนรู้จากความผิดพลาด (Mistakes) และสร้างพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจ (Open) หรือ A.L.M.O ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้

Asset 57.png

 

เราหวังว่า การนำแนวทางเหล่านี้ไปใช้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและเปิดรับสำหรับเยาวชน ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่และเยาวชนอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การสร้างคนที่ปราศจากอคติต่อวัย !

Asset 73.png
DSC08330_edited.jpg



Section 1
เราต้องเป็นผู้ใหญ่ที่แตกต่างเพื่อให้เยาวชนประทับใจ

Asset 8.png



Section 2
แนวคิดและเคล็ดลับพฤติกรรมต้นแบบ

Asset 8.png



Section 3
แบบฝึกหัดกระบวน
การอบรมฝึกผู้ใหญ่

A.L.M.O

Asset 8.png

จากงานวิจัยที่ไซด์คิกทำร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่ามีเพียงประมาณ 20% ของกลุ่มทดลองที่มีทัศนคติเกี่ยวกับวัยอย่างเปิดกว้าง และอีก 37% ที่มีทัศนคติปานกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่เยาวชนจะได้พบกับผู้ใหญ่ที่มีความเข้าใจและพร้อมรับฟังยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะเยาวชนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆนอกจากการเรียน เราจึงมีโอกาสที่จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าเราต่างจากผู้ใหญ่ในแบบที่พวกเขาคุ้นเคย

 

การเปลี่ยนแปลงมุมมองนี้อาจช่วยเปิดโลกใหม่ให้กับพวกเขา และทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีผู้ใหญ่ที่พร้อมสนับสนุนและเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาประสบอยู่


“พี่ผู้ชายที่มาเป็นวิทยากร ตอนแรกหนูกลัวเพราะดูดุ แต่พอคุยจริงๆ เขากลับนุ่มนิ่มมาก พอเราคุยแล้วผู้ใหญ่ไม่ได้แย่ นอกจากนั้น พอเราไปลงชุมชนก็พบว่าผู้ใหญ่ที่ดูหัวโบราณนั้นมีความร่วมสมัยมาก”

ความเห็นจากเยาวชนที่ร่วมกิจกรรมในโครงการ “ประสบการณ์” [แอมโม่] 


เราต้องเป็นผู้ใหญ่ที่แตกต่างเพื่อให้เยาวชนประทับใจ
ส่วนที่ 1 (Section 1)

จากงานวิจัยที่ไซด์คิกทำร่วมกับทีมวิจัยจาก

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า มีเพียงประมาณ 

20% ของกลุ่มทดลองที่มีทัศนคติเกี่ยวกับวัยอย่าง

เปิดกว้างและอีก 37% ที่มีทัศนคติปานกลาง

 

 

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่เยาวชนจะได้พบกับผู้ใหญ่

ที่มีความเข้าใจและพร้อมรับฟังยังมีอยู่อย่างจำกัด

โดยเฉพาะเยาวชนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ นอกจากการเรียน เราจึงมีโอกาสที่จะทำให้พวกเขารู้สึก

ว่าเราต่างจากผู้ใหญ่ในแบบที่พวกเขาคุ้นเคย

 


“ พี่ผู้ชายที่มาเป็นวิทยากร ตอนแรกหนูกลัวเพราะดูดุ แต่พอคุยจริงๆ เขากลับนุ่มนิ่มมาก พอเราคุยแล้วผู้ใหญ่ไม่ได้แย่ นอกจากนั้น พอเรา

ไปลงชุมชนก็พบว่าผู้ใหญ่ที่ดูหัวโบราณนั้นมีความร่วมสมัยมาก 

 

ความเห็นจากเยาวชนที่ร่วมกิจกรรมในโครงการ “ประสบการณ์” [แอมโม่] 

DSC06265_edited.jpg

 

การเปลี่ยนแปลงมุมมองนี้อาจช่วยเปิดโลกใหม่ให้กับพวกเขา และทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีผู้ใหญ่ที่พร้อมสนับสนุนและเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาประสบอยู่

Asset 18.png
Asset 5.png
Asset 18.png

 
แนวคิดและเคล็ดลับพฤติกรรมต้นแบบ
ส่วนที่ 2 (Section 2)

Asset 72.png

 

ราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบุคลิกของตัวเองหรือทำตัวให้กลายเป็นเด็ก

แต่ส่วนสำคัญคือการเปิดโอกาสให้ทุกคนคิดและแสดงความเห็นในแบบของตน โดยไม่บังคับให้ต้องคิดเหมือนเราหรือใช้วิธีเดียวกันในการบรรลุเป้าหมาย 

Asset 73.png
Asset 7 copy.png

 

 

“ ผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ รวมถึงวิทยากรและแขกรับเชิญ

มีความคิดทันสมัยและเข้าใจวัยรุ่นอย่างแท้จริง พวกเขาพร้อมรับฟังความคิดเห็นของเราเสมอ ทำให้เรารู้สึกกล้าที่จะพูดมากขึ้น แม้ก่อนหน้านี้จะไม่ค่อยกล้าพวกเขาเปิดกว้างและเพิ่มมิติให้กับความคิดของเรา

ดยไม่ตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด ” 

 

ความเห็นจากเยาวชนที่ร่วมกิจกรรมในโครงการ “ประสบการณ์” [มุก] 

DSC06265_edited.jpg
MEE00247_edited.jpg
Asset 7 copy.png

4 พฤติกรรมหลักที่ผู้ใหญ่ต้องมี
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนเปิดใจรับฟังคนต่างวัย จากตัวอย่างงานวิจัยและการทดลองปฎิบัติตามโครงการ “ประสบการณ์” ได้แก่

 

Appreciate

การชื่นชมในความพยายามของผู้อื่น

 

จำไว้ว่าทุกคนมีความแตกต่าง: ทุกคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันจากโรงเรียนหรือครอบครัว และเราทุกคนก็ไม่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นควรเปิดใจรับฟัง เพราะทุกคำถามสามารถมีหลายคำตอบ

  • มองที่กระบวนการควบคู่ไปกับผลลัพธ์: ควรคิดเสมอว่าความยากลำบากที่แต่ละคนเผชิญนั้นไม่เท่ากัน การเข้าใจว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้จะช่วยให้เราชื่นชมความพยายามในทุกขั้นตอนได้ดียิ่งขึ้น ก่อนที่จะเสนอแนะหรือวิจารณ์ผลลัพธ์​

  • คิดถึงข้อดีเสมอก่อนจะพูด: ก่อนที่จะพูดอะไร ควรพิจารณาข้อดีในตัวเด็กหรือสิ่งที่เขาทำ แล้วชื่นชมออกมาอย่างเป็นรูปธรรมและจริงใจ พร้อมหาคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจ

 

 

ตัวอย่างสถานการณ์จากโครงการ "ประสบการณ์"

เมื่อจัดกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มไปถ่ายรูปในชุมชนและกลับมานำเสนอ แทนที่จะ

มุ่งเน้นไปที่การวิจารณ์ว่า สวยหรือไม่สวย ตรงโจทย์หรือไม่ ทีมวิทยากรและทีมพี่เลี้ยงได้สอบถามถึงกระบวนการในการสร้างสรรค์ภาพและเรื่องราวเหล่านั้นก่อน ให้คำชมพร้อมคำแนะนำในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการคิดและออกแบบ (journey) ก่อนที่จะพูดถึงผลงานที่นำเสนอ

 

ในระหว่างที่แต่ละทีมออกไปถ่ายภาพในชุมชน วิทยากรจะติดตามไปด้วยเพื่อดูการทำงานและพูดคุยกับเยาวชน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการทำงานได้ดีขึ้น​

AKE_4008.JPG
Asset 11.png
Asset 2.png
Asset 2.png
DSC06029_edited.jpg
Asset 21.png
Asset 20.png

​​​ตัวอย่างความคิดเห็นจากเยาวชนที่ร่วมโครงการ “ประสบการณ์”

“ พี่ๆ พยายามรับฟังหลายๆความคิด ปฏิบัติกับทุกคนเท่าเทียมกัน

ไม่ได้ใส่ใจใครคนใดคนหนึ่งจนเกินไป เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดสิ่งที่

อยากนำเสนอ ไม่พูดตัดบท และให้พื้นที่ในการพูดให้จบชัดเจน ” [ชาช่า]

 

Listen

ตั้งใจฟังและเปิดพื้นที่ให้กับ

ทุกความคิดเห็น

  • ฟังอย่างตั้งใจ: เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดและถาม โดยไม่เร่งรัดหรือตัดบท สบตาและคอยสังเกตสีหน้า อารมณ์ รวมถึงการใช้ภาษากายอื่นๆ เช่น การพยักหน้าและยิ้ม เพื่อแสดงความสนใจและบอกให้รู้ว่าความคิดของพวกเขานั้นมีค่า

  • จดอย่างละเอียด: บันทึกสิ่งที่เด็กพูด พร้อมตั้งคำถามเพิ่มเติมเพื่อทวนความเข้าใจ จะช่วยให้เราสามารถให้คำแนะนำที่ตรงจุดและต่อยอดความคิดให้กับพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น

Asset 20.png
Asset 7.png
Asset 7.png

 

Mistakes

กล้าที่จะเล่าความผิดพลาดเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้คนอื่นเรียนรู้

 

  • โอบรับความผิดพลาด: ไม่กลัวที่จะเล่าถึงความผิดพลาดในอดีต เพราะทุกความล้มเหลวคือโอกาสเรียนรู้ที่มีค่า แต่อย่าลืมแบ่งปันวิธีการแก้ปัญหาและขั้นตอนที่ผ่านมาด้วย

  • หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ: แชร์ประสบการณ์ได้อย่างเต็มที่ โดยเน้นสร้างแรงบันดาลใจ อย่าเปรียบเทียบว่าใครดีกว่าหรือเก่งกว่า เพราะเรามีหน้าที่สนับสนุนให้ทุกคนเติบโตและเรียนรู้ร่วมกัน

  • ให้กำลังใจ: เมื่อเกิดความผิดพลาด อย่ากดดัน แต่ให้กำลังใจและชวนคิด เพื่อสร้างนิสัยการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเน้นที่สถานการณ์ พฤติกรรม หรือการกระทำที่สามารถปรับปรุงได้

 

 

​​

ตัวอย่างสถานการณ์จากโครงการ "ประสบการณ์"

 

การให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลงานถ่ายภาพของน้องๆ วิทยากรต้องการชี้ให้เห็นว่าควรเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นหรือหามุมมองใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมิติในการนำเสนอ แทนที่จะบอกว่า “ไม่ดี” หรือ “ไม่สวย” และให้ทำใหม่ วิทยากรได้ยกตัวอย่างประสบการณ์ของตนเมื่อเริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ ว่ารู้สึกอายและไม่กล้าเข้าไปถ่ายใกล้ๆ เหมือนกัน แต่ได้รับคำแนะนำจากผู้อื่นว่าภาพจะสวยขึ้นถ้าเข้าใกล้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับน้องๆ ที่เริ่มต้นถ่ายภาพที่อาจยังไม่คุ้นเคย โดยให้กำลังใจให้พวกเขาพยายามถ่ายให้มากขึ้นและดูตัวอย่างเพื่อพัฒนาทักษะของตนเอง

DSC06356_edited.jpg
Asset 16.png

 

OPEN

สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับ

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

หลักการสำคัญในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยมีดังนี้:

  • ความเคารพ: เคารพทุกความคิดเห็น แม้จะไม่เห็นด้วย

  • การฟังอย่างตั้งใจ: สบตา พยักหน้า หรือให้สัญญาณว่ากำลังฟังอยู่

  • ความเท่าเทียม: ทุกคนมีโอกาสพูดอย่างเท่าเทียม ไม่ขัดจังหวะกัน

  • ไม่มีการตัดสิน: ไม่ตัดสินหรือวิจารณ์ความคิดของผู้อื่น

Asset 10.png

การสร้างพื้นที่ปลอดภัย

  • ระดับการสื่อสาร: นั่งหรือยืนในระดับเดียวกับเด็ก เริ่มด้วยคำถามง่ายๆ เช่น

    • สะท้อนตัวเอง

    • สอบถามสารทุกข์สุขดิบ

    • อาหาร (กินอะไรอร่อยไหม)

    • การเรียน (เรียนอะไร เป็นยังไงบ้าง)

    • งานอดิเรก (ช่วงนี้อินกับอะไร)

    • กิจกรรม (กิจกรรมวันนี้เป็นยังไงบ้าง)

  • เวลาและโอกาสเท่าเทียม: กระตุ้นให้ทุกคนพูดโดยเรียกชื่อทีละคน หากใครไม่พร้อมให้ข้ามไปก่อน

  • ใช้ภาษาง่ายๆ: ทวนคำถาม ใช้คำถามปลายเปิด สื่อสารเชิงบวก หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ

  • ฟังมากกว่าพูด: รับฟังความคิดเห็นและสังเกตการมีส่วนร่วม ระวังไม่ให้มีการพูดแทรกหรือตัดบท

DSC08215.JPG
Asset 13.png

ตัวอย่างความคิดเห็นจากเยาวชนที่ร่วมโครงการ “ประสบการณ์” 

 

“ หนูรู้สึกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

เพราะทุกคนที่มาที่นี่เปิดรับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระ

โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครไม่โอเค เพื่อนๆ ทุกคนสามารถปรับตัวและยอมรับวามคิดเห็นของกันและกันได้อย่างดี ทำให้รู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นใจในการแสดงออกมากขึ้น ”  [แอม]

Asset 12.png

 
แบบฝึกหัดกระบวนการอบรมฝึกผู้ใหญ่ให้มีพฤติกรรม A.L.M.O. สำหรับนักปฎิบัติการ
ส่วนที่ 3 (Section 3)

ผู้เข้าร่วมจะสามารถ:

  • เข้าใจและนำพฤติกรรม A.L.M.O. ไปปรับใช้

  • สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่ปลอดภัยและเปิดรับสำหรับเยาวชน

  • กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเยาวชน

  • ลดช่องว่างระหว่างวัย ส่งเสริมสุขภาพจิต และสร้างพื้นที่ให้คนต่างวัยได้มีส่วนร่วมกันมากขึ้น

 

เตรียมสื่อการสอน:

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่ 

กระดานไวท์บอร์ด, กระดาษโน้ต, แบบฝึกหัดสถานการณ์สมมติ, และเอกสารแจกสรุปพฤติกรรม A.L.M.O.

 

กำหนดตารางเวลา:

แบ่งการอบรมออกเป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงจะเน้นไปที่พฤติกรรมแต่ละตัวใน A.L.M.O.

การสนับสนุนหลังการอบรม:

วางแผนติดตามผลเพื่อประเมินว่าผู้เข้าร่วมได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงหรือไม่ จัดทำชุมชนออนไลน์หรือกลุ่มสนทนาเพื่อให้ครูและผู้ใหญ่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และคำแนะนำได้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม

รายละเอียด

วันอบรม: การดำเนินการ

แนะนำการอบรม (15 นาที)

  • เปิดการอบรมและกิจกรรมละลายพฤติกรรม:

ต้อนรับผู้เข้าร่วมและอธิบายวัตถุประสงค์ของการอบรมทำกิจกรรมสั้นๆ

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรู้จักกัน 

 

  • สรุปภาพรวมของ A.L.M.O. (5 นาที):

อธิบายว่าพฤติกรรม A.L.M.O. คืออะไร และแต่ละตัวอักษรหมายถึงอะไร:

Appreciate (ชื่นชม), Listen (ฟัง), Mistakes (เรียนรู้จากความผิดพลาด)

, Open (สร้างพื้นที่ปลอดภัยและสบายใจ)

A คือ Appreciate (45 นาที)

 

  • อธิบายแนวคิดในหลักการจากรายละเอียดส่วนที่ 2 (Section 2) (10 นาที)

  • กิจกรรม 1: การชื่นชมที่สร้างสรรค์ (20 นาที):

    • ​​​​ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่กัน พูดถึงสิ่งที่แต่ละคนได้ทำสำเร็จ และประทับใจ จะเป็นเรื่องงานหรือการเรียนก็ได้ ให้อธิบายว่ามีองค์ประกอบอะไรที่ทำให้ทำสิ่งนั้นสำเร็จได้ แล้วฝึกการชื่นชมความพยายามในแต่ละขั้นตอนของคู่ตนเองหลังจากนั้นให้สลับ

  • บทบาทกันอภิปรายกลุ่ม (15 นาที):

    • ​ถามผู้เข้าร่วมว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับและให้คำชื่นชมพูดคุยถึงความสำคัญของการชื่นชมในฐานะเครื่องมือเสริมสร้างความมั่นใจให้เยาวชน

กิจกรรม

รายละเอียด

L คือ Listen (45 นาที)

  • อธิบายแนวคิดในหลักการจากรายละเอียดส่วนที่ 2 (Section 2) (10 นาที)

  • กิจกรรม 2: ฝึกการฟังเพื่อทำความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อตอบโต้ (20 นาที):

    • ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่กัน โดยคนหนึ่งพูดถึงปัญหาหรือความกังวล อีกคนฟัง จดบันทึก และทบทวนสิ่งที่ได้ยินโดยไม่แสดงความเห็น

    • สลับบทบาทกันเพื่อฝึกฝนทั้งการพูดและการฟัง

  • อภิปรายกลุ่ม (15 นาที):

    • พูดคุยว่าการฟังอย่างตั้งใจมีผลอย่างไร และการฟังแบบนี้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างไร

M คือ Mistakes (45 นาที)

  • อธิบายแนวคิดในหลักการจากรายละเอียดส่วนที่ 2 (Section 2) (10 นาที)

  • กิจกรรม 3: แบ่งปันความผิดพลาด (20 นาที):

    • ให้ผู้เข้าร่วมเขียนเกี่ยวกับความผิดพลาดที่พวกเขาเคยทำ และสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้จากมัน จากนั้นแบ่งปันเรื่องราวในกลุ่มย่อย การพูดถึงความผิดพลาดไม่ได้ทำให้เราดูด้อยลง แต่ทำให้เราเท่าเทียมกับเยาวชนและสามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้

  • อภิปรายกลุ่ม (15 นาที):

    • พูดคุยว่าการแบ่งปันความผิดพลาดทำไมทำให้เยาวชนรู้สึกดีกับผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น อยากฟังคำแนะนำมากขึ้น

กิจกรรม

รายละเอียด

O คือ Open (45 นาที)

  • อธิบายแนวคิดในหลักการจากรายละเอียดส่วนที่ 2 (Section 2) (10 นาที)

  • กิจกรรม 4: เริ่มด้วยคำถามง่ายๆ เช่น “ในสถานการณ์ที่รู้สึกสบายใจหรือไม่สบายใจ ทำให้คุณกล้าหรือไม่กล้าพูดหรือแสดงออกอย่างไร?” (10 นาที):

    • ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์สั้นๆ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า              "พื้นที่ปลอดภัย" คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

  • กิจกรรม 5: แบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยให้แต่ละกลุ่มมีผู้นำการสนทนา (Facilitator) เพื่อฝึกสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและปลอดภัย (15 นาที):

    • ​มีขั้นตอนดังนี้:

      • ผู้นำสนทนาเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามปลายเปิดที่ทุกคนสามารถตอบได้

      • สมาชิกในกลุ่มสามารถเลือกวิธีการแสดงความคิดเห็นตามความถนัด เช่น การพูด การเขียน การวาด หรือการเล่าผ่านสิ่งของที่ตนชื่นชอบ

      • ผู้นำสนทนาชวนทุกคนสะท้อนกระบวนการที่ทุกคนสามารถแสดงออกได้ อย่างสบายใจ โดยพูดคุยถึงประโยชน์และวิธีการนำไปปรับใช้กับงานของตน

สรุปประเด็นสำคัญ

  • กิจกรรม 6: สรุปประเด็นสำคัญ:

    • ทบทวนหลักการสำคัญในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย (ความเคารพ การฟัง     ความเท่าเทียม ฯลฯ)

    • เน้นย้ำความสำคัญของการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความมั่นใจ

bottom of page